บทที่ 2


แนวคิด หลักการและทฤษฎีของนวัตกรรมเทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา

 ในปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในสังคมอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นที่คนเราต้องคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา เพื่อตอบสนองความเปลี่ยนแปลงนั้นๆ ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการดำรงชีวิต สิ่งที่คิดขึ้นมาใหม่นี้เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation) ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นวัตถุสิ่งของ อาจเป็นแนวคิดหรือ วิธีการก็ได้

เกณฑ์คุณลักษณะส่วนตัวของนวัตกรรม มี 5 ลักษณะ คือ

(1) ราคาไม่แพง ดูแลรักษาง่าย
(2) สะดวกในการนำไปใช้
(3) สำเร็จรูปใช้ได้ทันที
(4) ไม่จำเป็นต้องใช้เวลาในการศึกษามาก
(5) ไม่ขัดกับสภาพสังคม
2. เกณฑ์ผลกระทบต่อสังคม มี 3 ประการ คือ
(1) มีคนนิยมใช้จำนวนมาก
(2) ผลของนวัตกรรมอยู่ได้นาน
(3) ไม่มีผลในทางลบ

กระบวนการของนวัตกรรม

1. ขั้นความคิด  คือ  การนึก คิด แนวทาง หรือกระบวนการแห่งนวัตกรรมนั้นๆขึ้นมา  เพื่อตอบสนองความต้องการบางอย่างของมนุษย์ทั้งในทิศทางบวก  และทิศทางลบ
 2. ขั้นเสาะแสวงหาโอกาส  คือ  การใช้โอกาสในวาระต่างๆ  นำเอานวัตกรรม  สิ่งประดิษฐ์ หรือแนวคิดนั้นๆไปทดลองใช้
3.  ขั้นพัฒนา  คือ  การนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปปรับใช้  เปลี่ยนแปลง  ให้เกิดภาวการณ์ก้าวข้ามผ่านสิ่งเก่า 
4.  ขั้นแพร่กระจาย  คือ  นวัตกรรมนั้นๆได้รับการนำไปใช้ในวงกว้าง  อย่างแพร่หลาย  จนกลายเป็นเทคโนโลยีในอนาคต

โดยการแพร่กระจายของนวัตกรรม เป็นส่วนหนึ่งของการสื่อสาร ต่างกันที่ว่าการสื่อสารเป็นการเผยแพร่ข่าวสารข้อมูลทุกประเภท ทั้งที่เป็นข่าวสารเก่าและใหม่ แต่ในการเผยแพร่นวัตกรรมเป็นปัจจัยส่งผลให้ผู้รับ มีความรู้ใหม่เท่านั้นการสื่อสารเกี่ยวกับนวัตกรรม  ปัจจัยการแพร่กระจายนวัตกรรม เป็นทั้งแหล่งข่าวสาร ช่องทางการสื่อสารและเนื้อหาข่าวสาร เป็นเงื่อนไขที่จำเป็นสำหรับการยอมรับนวัตกรรม ถ้าไม่มีปัจจัยนี้การยอมรับนวัตกรรมก็ย่อมไม่เกิดขึ้น หรือเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะผิดทิศทางแห่งการบรรลุเป้าหมายขององค์การได้


นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล   การจัดการศึกษาของไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลเอาไว้อย่างชัดเจนซึ่งจะเห็นได้จากแผนการศึกษาของชาติ ให้มุ่งจัดการศึกษาตามความถนัดความสนใจ และความสามารถ ของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์บ้าง ใช้ความสามารถเป็นเกณฑ์บ้าง นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ เช่น
  - การเรียนแบบไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School)
  - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
 - เครื่องสอน (Teaching Machine)
- การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
  - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
 - เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

  2. ความพร้อม   เดิมทีเดียวเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้ก็ต้องมีความพร้อมซึ่งเป็นพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันการวิจัยทางด้านจิตวิทยาการเรียนรู้ ชี้ให้เห็นว่าความพร้อมในการเรียนเป็นสิ่งที่สร้างขึ้นได้ ถ้าหากสามารถจัดบทเรียน ให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน วิชาที่เคยเชื่อกันว่ายาก และไม่เหมาะสมสำหรับเด็กเล็กก็สามารถนำมาให้ศึกษาได้ นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน การจัดโรงเรียนในโรงเรียน นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
  - ศูนย์การเรียน (Learning Center)
   - การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
 - การปรับปรุงการสอนสามชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา   แต่เดิมมาการจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางสอนมักจะจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชา ทุกวันนอกจากนั้นก็ยังจัดเวลาเรียนเอาไว้แน่นอนเป็นภาคเรียน เป็นปี ในปัจจุบันได้มีความคิดในการจัดเป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชาซึ่งจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่เฉพาะในโรงเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น
- การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling)
 - มหาวิทยาลัยเปิด (Open University)
  - แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
  - การเรียนทางไปรษณีย์

4. ประสิทธิภาพในการเรียน   การขยายตัวทางวิชาการ และการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านปัจจัยเกี่ยวกับตัวผู้เรียน และปัจจัยภายนอก 




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น