บทที่ 6


นวัตกรรมการเรียนการสอน

นวัตกรรมการเรียนการสอน  คือ  การนำเอาแนวความคิดและการกระทำใหม่ ๆ มาใช้ในการเรียนการสอน มีลักษณะสำคัญ 4  ประการ คือ

1. เป็นการกระทำหรือสิ่งที่คิดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อาจจะมีรากเหง้ามาจากภูมิปัญญาดั้งเดิม

2. สามารถนำไปใช้ได้ผลจริงในการจัดการเรียนการสอน มีผลการศึกษายืนยัน

3. มีการเผยแพร่ให้บุคคลอื่นให้สามรถนำไปใช้ได้

4. เป็นระบบ

นวัตกรรมการเรียนการสอน
เป็นการใช้วิธีระบบในการปรับปรุงและคิดค้นพัฒนาวิธีสอนแบบใหม่ๆ ที่สามารถตอบสนองการเรียนรายบุคคล การสอนแบบผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง การเรียนแบบมีส่วนร่วม การเรียนรู้แบบ แก้ปัญหาการพัฒนาวิธีสอนจำเป็นต้องอาศัยวิธีการและเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาจัดการและสนับสนุนการเรียนการสอน ตัวอย่าง นวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่
- การสอนแบบโมดุล (Module Teaching)
- การสอนแบบจุลภาค (Micro Teaching)
- การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์(Group Process Teaching)
- การสอนซ่อมเสริม (Remidial Teaching)
- การสอนโดยเพื่อน สอนเพื่อน (Peers Teaching)
- การสอนแบบพี่สอนน้อง (Monitoring) และการปรับพฤติกรรม (Behavioral Modification)
- การสอนเป็นรายบุคคล(Individualized Instruction)
- การเรียนแบบรู้รอบ(Mastery Learning)
- การเรียนแบบศูนย์การเรียน (Learning Center)
- การสอนแบบบูรณาการ(Integrative Techniques)
- การสอน แบบสืบสวนสอบสวน (Inquiry Method)
- การสอนแบบโครงการ อาร์ ไอ ที(Reduced Instructional Time)
- การสอนโดยใช้ชุดการเรียนการสอน (Instructional Package)
- การสร้างบทเรียนให้เรียนด้วยตนเอง (Personalized System Instruction)
- การสอนโดยให้ทางบ้านดูแลการฝึกปฏิบัติ (Home Training)
- ชุดการสอนย่อย (Minicourse)
- การเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ต
- การวิจัยในชั้นเรียน ฯลฯ


ประเภทของนวัตกรรม

นวัตกรรมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทดังต่อไปนี้

1.   นวัตกรรมด้านระบบการศึกษา 
2.   นวัตกรรมด้านหลักสูตร
3.   นวัตกรรมด้านการเรียนการสอน
4.    นวัตกรรมด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี  นวัตกรรมด้านการประเมินผล 
5.   นวัตกรรมด้านการบริหารการศึกษา 
6.   นวัตกรรมด้านการประเมินผล

ข้อดีของการนำนวัตกรรมไปใช้              

1. ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2. ทำให้ได้รับประสบการณ์ที่หลากหลายจากการาเรียนรู้
3. ไม่ทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรียน
4. ทำให้โลกของผู้เรียนกว่างขึ้นไม่จำกัดอยู่แต่ในวงแคบ ๆของการศึกษาแบบเก่า
5. เป็นการเปิดโอกาสให้เด็กกลายเป็นผู้ที่มีความคิดที่อยากจะเป็นนักพัฒนาและมีความคิดสร้างสรรค์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น