บทที่ 3


การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน


    คำว่า  การสื่อสาร (communications)  มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า  communis หมายถึง  ความเหมือนกันหรือร่วมกัน   ถ่ายทอดข่าวสาร  ข้อมูล ความรู้ ประสบการณ์  ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม หรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร  โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน  บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล

การสื่อสารจะประสบความสำเร็จตรงตามจุดประสงค์หรือไม่ผู้ส่งสารควรคำนึงถึงหลักการสื่อสาร ดังนี้  

1.  ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์จะต้องทำความเข้าใจเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสารและปัจจัยทางจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับระบบการรับรู้ การคิด การเรียนรู้ การจำ ซึ่งมีผลต่อประสิทธิภาพในการสื่อสาร
 2.  ผู้ที่จะสื่อสารต้องคำนึงถึงบริบทในการสื่อสาร บริบทในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่อยู่แวดล้อมที่มีส่วนในการกำหนดรู้ความหมายหรือความเข้าใจในการสื่อสาร
 3.  คำนึงถึงกรอบแห่งการอ้างอิง (frame of reference) มนุษย์ทุกคนจะมีพื้นความรู้ทักษะ เจตคติ ค่านิยม สังคม ประสบการณ์ ฯลฯ เรียกว่าภูมิหลังแตกต่างกัน ถ้าคู่สื่อสารใดมีกรอบแห่ง  การอ้างอิงคล้ายกัน   ใกล้เคียงกัน จะทำให้การสื่อสารง่ายขึ้น
 4.  การสื่อสารจะมีประสิทธิผล เมื่อผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ชัดเจน ผ่านสื่อหรือช่องทาง  ที่เหมาะสม ถึงผู้รับสารที่มีทักษะในการสื่อสารและมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกัน
 5.  ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า เพราะจะทำให้การสื่อสารราบรื่น สะดวก รวดเร็ว เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสามารถแก้ไขได้ทันท่วงที หากจะเกิดอุปสรรค์ ที่จุดใดจุดหนึ่ง
 6.  คำนึงถึงการใช้ทักษะ เพราะภาษาเป็นสัญลักษณ์ที่มนุษย์ตกลงใช้ร่วมกันในการ
สื่อความหมาย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจในการสื่อสาร คู่สื่อสารต้องศึกษาเรื่องการใช้ภาษา และสามารถใช้ภาษาให้เหมาะสมกับกาลเทศะ บุคคล เนื้อหาของสาร และช่องทางหรือสื่อ ที่ใช้ในการสื่อสาร
 7.  คำนึงถึงปฏิกิริยาตอบกลับตลอดเวลา ถือเป็นการประเมินผลการสื่อสาร ที่จะทำให้คู่สื่อสารรับรู้ผลของการสื่อสารว่าประสบผลดีตรงตามวัตถุหรือไม่ ควรปรับปรุง เปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขข้อบกพร่องใด เพื่อที่จะทำให้การสื่อสารเกิดผลตามที่ต้องการ

 สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ตัวกลางหรือช่องทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้ ทักษะ ประสบการณ์ จากแหล่งความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ

 คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
   
 1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
     2.ขจัดปัญหาเกียวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
     3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
     4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
     5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
     6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
     7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ

     8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม 



ระบบสื่อการศึกษา

นับตั้งแต่มนุษย์ได้รู้จักนำเอาสื่อ (media) มาใช้ในการสื่อความหมายก็ได้มีการพัฒนาเรื่อยมา จากสื่อที่ใช้สัญลักษณ์ รูป มาจนถึงสื่อในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยธรรมชาติแล้วสื่อแต่ละประเภทจะมีคุณค่าอยู่ในตัวของมันเอง เพียงแต่ว่าผู้ผลิตและผู้ใช้จะสามารถดึงเอาคุณค่านั้นมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงใด สื่อใดก็ตามถ้าได้มีการวางแผนดำเนินการผลิตการใช้ อย่างมีระบบ ย่อมเกิดประโยชน์ทางการศึกษา ตามจุดมุงหมายที่วางไว้ วิธีการระบบสามารถนำมาใช้กับกระบวนการสื่อได้ทุกกระบวนการเช่น การเลือก การผลิต การใช้เป็นต้น


ชนิดของสื่อเพื่อการเรียนรู้

1.สื่อที่พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ

2.สื่อที่พัฒนาด้านการเคลื่อนไหวของร่างกาย

3.สื่อที่พัฒนาด้านจิตใจ

4.สื่อที่พัฒนาด้านในเรื่องการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

หลักการและแนวคิดของสื่อการเรียนรู้ตามหลักสูตร
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรสถานศึกษา มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนรู้ ด้วยตนเอง เรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต และใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความยืดหยุ่น สนองความ ต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคมและประเทศชาติ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ทุกประเภท รวมทั้งเครือข่ายการเรียนรู้ ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในท้องถิ่น ชุมชนและแหล่งอื่น ๆ สื่อที่จะนำมาใช้เพื่อจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรจะมีลักษณะ ดังนี้
1. เน้นสื่อเพื่อการค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองทั้งของผู้เรียนและผู้สอน
2. ผู้เรียนและผู้สอนสามารถจัดทำหรือพัฒนาสื่อการเรียนรู้ขึ้นเอง รวมทั้งนำสื่อที่มีอยู่รอบตัวมาใช้ในการเรียนรู้
3. รูปแบบของสื่อการเรียนรู้ควรมีความหลากหลาย เพื่อส่งเสริมให้การเรียนรู้เป็นไปอย่างมีคุณค่า กระตุ้นให้
ผู้เรียนรู้จักวิธีการแสวงหาความรู้ เกิดการเรียนรู้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่องตลอดเวลา

 ประเภทของสื่อเพื่อการเรียนรู้
   1. สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือพิมพ์ รายงาน นิตยสารหนังสือเรียน  การ์ตูนเอกสารประกอบการสอน บทเรียนต่างๆ
2. สื่อเทคโนโลยี  ได้แก่  สื่อการเรียนรู้ที่ได้ผลิตขึ้นเพื่อใช้ควบคู่กับเครื่องมือโสตทัศนวัสดุ  หรือเครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆเช่น        วีดิทัศน์ แถบบันทึกเสียงสไลด์ สื่อคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
3. สื่ออื่นๆ เช่น บุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในสาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นนักการศึกษา ศิลปิน นักการเมือง นักธุรกิจ ชาวนา ช่างซ่อม       ฯลฯ

ชนิดของสื่อเพื่อการเรียนรู้
1. ครูเป็นสื่อนับได้ว่าความสำคัญ เพราะเป็นผู้ก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวต่างๆ ในการเรียนรู้ และเป็นสื่อที่จะนำสื่ออื่นให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนการสอนหากปราศจากครู การเรียนการสอนก็จะไม่มีผลแก่เด็กในวัยนี้อย่างแน่นอน
2. สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ สื่อชนิดนี้ไม่จำเป็นต้องจัดหาหรือทำขึ้น เพราะมีอยู่แล้วตามธรรมชาติเพียงแต่ผู้ใช้จะต้องเลือกให้ถูกตามความมุ่งหมาย เช่น การสอนเรื่องวงจรชีวิตกบก็ควรเลือกฤดูกาลที่เหมาะสม คือฤดูฝนเพื่อจะได้นำสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติมาศึกษาได้ แทนที่จะใช้วิธีวาดภาพ ไข่กบ ลูกอ๊อดและลูกกบ ประกอบคำอธิบาย เป็นต้น
3. สื่อที่ต้องจัดทำขึ้น สื่อชนิดนี้มีมากมายหลายชนิด สุดแต่ผู้ที่สนใจจะจัดซื้อ จัดหาหรือจัดทำขึ้น ได้แก่ของจริง ของจำลอง ภาพถ่าย ภาพวาด บัตรคำ เกม กิจกรรม เครื่องฉายภาพนิ่งเครื่องฉายภาพยนตร์ เป็นต้น

ข้อดีของสื่อเพื่อการเรียนรู้

ข้อดีของสื่อสิ่งพิมพ์ - สื่อประเภทนี้เป็นสื่อที่หาง่าย และราคาถูกกว่าสื่อประเภทอื่นๆ
ข้อดีของสื่อเทคโนโลยี - เป็นสื่อที่สะดวกต่อการใช้งาน และรวดเร็ว
ข้อดีของสื่ออื่นๆ - เป็นสื่อที่เราสามารถได้รับความรู้โดยตรงจากสื่อ โดยไม่ต้องผ่านตัวกลางใด

ข้อเสียของสื่อเพื่อการเรียนรู้
                                 
ข้อเสียของสื่อสิ่งพิมพ์ - สื่อประเภทนี้ค่อนข้างจะน่าเบื่อเมื่อได้ศึกษา ทำให้ผู้ศึกษารู้สึกไม่สนุกเมื่อได้ศึกษาผ่านสื่อประเภทนี้
ข้อเสียของสื่อเทคโนโลยี - สื่อประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างแพง และมักจะมีปัญญาเกี่ยวกับระบบการทำงาน
ข้อเสียของสื่ออื่นๆ -  สื่อประเภทจะมีผลเสียต่อผู้ที่อยู่ไกลจากแหล่งของสื่อ บางครั้งทำให้ผู้ที่อยากศึกพลาดในการที่จะศึกษาสื่อประเภทนี้

การสื่อสารกับการศึกษา
การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างไร ?การสื่อสารมีความสัมพันธ์กับการศึกษาอย่างไร ?การสื่อสาร  คือ  กระบวนการสำหรับแลกเปลี่ยนสาร รูปแบบอย่างง่ายของสาร คือ จะต้องส่งจากผู้ส่งสารหรืออุปกรณ์เข้ารหัส ไปยังผู้รับสารหรืออุปกรณ์ถอดรหัสอีกความหมายหนึ่ง  การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
        
 องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
  1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)

ทฤษฎีการสื่อสาร
ทฤษฎีการสื่อสารและการเรียนการสอน เพื่อให้การเรียนการสอนบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้และผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด นอกจากจะใช้เทคโนโลยีการศึกษาทั้งในเรื่องของกระบวนการและทรัพยากรต่างๆแล้วจำเป็นต้องอาศัยทฤษฏีการสื่อสารในการนำเสนอเนื้อหาจากผู้ส่งไปยังผู้รับสื่อหรือช่องทางในการถ่ายทอดและวิธีการในการติดต่อเพื่อเป็นแนวทางสำหรับการจัดการเรียนการสอนอย่างได้ผลดีที่สุดด้วย ทั้งนี้เพราะสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งใน

กระบวนการสื่อสาร 
คือ การที่จะสื่อความหมายอย่างไรเพื่อให้ผู้รับสารนั้นเข้าใจได้อย่างถูกต้องว่าผู้ส่งหมายความว่าอะไรในข่าวสารนั้นมีนักวิชาการหลายท่านได้นำเสนอทฤษฏีการสื่อสารที่นำมาใช้เป็นหลักในการศึกษาถึงวิธีการส่งผ่านข้อมูลสารสนเทศการใช้สื่อและช่องทางการสื่อสาร ทฤษฏีการสื่อสารเหล่านี้ได้นำมาใช้ในขอบข่ายของเทคโนโลยีการศึกษาตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมาเพื่อเอื้อประโยชน์สำหรับใช้เป็นแนวทางในสื่อสารระหว่างผู้สอนและผู้เรียนรวมถึงการเลือกใช้สื่อเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการเรียนรู้ได้อย่างดี

ประโยชน์และตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีส่วนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในปัจจุบันมีความสะดวกสบายมากขึ้น  ทำให้คนในสังคมมีการติดต่อสื่อสารถึงกันได้ง่ายและรวดเร็ว  มีการทำกิจกรรมหลานสิ่งหลายอย่างร่วมกันง่ายขึ้น  การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ

 ด้านการศึกษา  เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารถูกนำมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารด้านการบริหารด้านการศึกษา เช่น ระบบการลงทะเบียน  และระบบการจัดตารางสอน  นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องมือในการเพิ่มโอกาสทางด้านการศึกษาและเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอน
1. การศึกษาทางไกลผ่านทางดาวเทียม  ทำให้ผู้ที่อยู่ห่าวไกลหรือไม่สะดวกในการเดินทางสามารถได้รับการศึกษาเช่นเดียวกับผู้ที่อยู่ในเมือง
2. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ยังช่วยเสริมประสิทธิภาพการเรียนการสอนในวิชาต่างๆ  เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ภาษาต่างประเทศ ทำให้บทเรียนมีความน่าสนใจมากขึ้น  และเกิดความเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การแสดงสถานการณ์จำลอง แบบจำลอง ภาพเคลื่อนไหว แสงสี และเสียงประกอบ  นักเรียนสามารถเตรียมตัวก่อนเรียน  หรือทบทวนบทเรียนด้วยตนเองเมื่อใดก็ได้ที่มีเวลาว่าง
3. บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์  เพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้พิการทางสายตาหรือหู

 เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทต่อการถ่ายทอดข้อมูลข่าวสารทางด้านการศึกษาได้เป็นอย่างดี  ทั้งในและนอกสถานศึกษา หน่วยการต่างๆ ใช้บทเรียนออนไลน์ในการฝึกอบรมพนักงานเพื่อให้ความรู้เพิ่มเติม  นอกจากนี้อินเทอร์เน็ตยังเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่ทั้งครูและนักเรียนหรือบุคคลทั่วไป  ใช้สำหรับค้นหาข้อมูลเรื่องต่างๆในการทำรายงาน หรือเพิ่มศึกษาหาความรู้ เว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลที่ใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น google.com , ask.com , dogpile.com และ wikipedia.org ตัวอย่างการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

บทสรุป
ในการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเพื่อการสร้างความพร้อมคงต้องสร้างให้ผู้เรียนเกิดทั้งประสิทธิภาพ(ประสิทธิผล และมีคุณภาพ ในผลผลิตทางการเรียนรู้ ทั้งนี้โดยการวิเคราะห์และออกแบบระบบการเรียนรู้( โดยคำนึงถึงบริบทรอบด้านทั้งด้านผู้เรียน  ด้านเนื้อหา  ด้านเทคโนโลยี และด้านผู้สอน ที่ต้องสัมพันธ์กัน  อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในการสร้างการเรียนรู้นั้นต้องเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยมีข้อเสนอแนะโดยใช้ตัวแบบการถ่ายโยงเทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในทางปฏิบัติ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น