จิตวิทยาการเรียนการสอน
“จิตวิทยา”เป็นศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมและกระบวนการทางจิต
โดยศึกษาว่าสิ่งเหล่านี้ได้อิทธิพลอย่างไรจากสภาวะทางร่างกาย
สภาพจิตใจและสิ่งแวดล้อมภายนอก เป็นการศึกษาศึกษาและสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบในห้องทดลองนำผลการทดลองไปใช้ในสถานการณ์จริงในห้องเรียนค้นหาวิธีการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
ศึกษาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินทางการศึกษา
จิตวิทยาการเรียนการสอน เป็นศาสตร์อันมุ่งศึกษาการเรียนรู้และพฤติกรรมของผู้เรียนในสถานการณ์การเรียนการสอน
พร้อมทั้งหาวิธีที่ดีที่สุดในการสอนให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสอดคล้องกับพัฒนาการของผู้เรียน
ความรู้ที่อยู่ในขอบข่ายการเรียนการสอน
1.
ความรู้เรื่องพัฒนาการมนุษย์
2. หลักการของการเรียนรู้และการสอนประกอบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้และการเรียนรู้ชนิดต่างๆ
3. ความแตกต่างระหว่างบุคคลที่มีผลต่อการเรียน
4. การนำเอาหลักการและวิธีการเรียนรู้ไปใช้ในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน
จุดมุ่งหมายของการนำจิตวิทยามาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประการแรก
มุ่งพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนรู้ของมนุษย์ในสถานการณ์การเรียนการสอน
ประการที่สอง นำเอาองค์ความรู้ข้างต้นมาสร้างรูปแบบเชิงปฏิบัติเพื่อครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเรียนการสอน
หลักการสำคัญ
1.
มีความรู้ในเนื้อหาวิชาที่สอน
2.
มีความสามารถในการประยุกต์หลักการจิตวิทยาเพื่อการเรียนการสอน
3.
มีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ใหม่
4.
มีเจตคติที่ดีต่อผู้เรียน
ความสำคัญของจิตวิทยาการเรียนการสอน
-
ทำให้ครูทราบทฤษฎี หลักการเรียนรู้
รวมทั้งหลักการสอนและวิธีการสอน
-
ทำให้ครูวางแผนการสอนได้อย่างเหมาะสม
- ทำให้ครูจัดสภาพแวดล้อมของห้องเรียนได้สอดคล้องกับพัฒนาการ
รวมทั้งสร้างบรรยากาศในชั้นเรียนที่เอื้อต่อการปกครองชั้นเรียน
จิตวิทยาการเรียนรู้
การเรียนรู้เกิดจากการรับรู้ของระบบประสาท และการแปลรหัสการรับรู้ให้สมองสั่งการ ความรู้สึกใดที่สมองได้บันทึกและจดจำไว้จะเรียกว่าประสบการณ์ เมื่ออวัยวะสัมผัสต่อสิ่งเดิมอีกจะเกิดการระลึกได้องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. สติปัญญาของผู้รับรู้ ถ้าสติปัญญาดีจะเรียนรู้ได้เร็ว
2. ความตั้งใจในกิจกรรมที่ผู้รับรู้สัมผัส
3. ความสนใจ การมีสมาธิจดจ่อกับสิ่งนั้น
4. สภาพจิตใจของผู้รับรู้ในขณะนั้น
จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1. พุทธนิยม หมายถึง
การเรียนรู้ในด้านความรู้ ความเข้าใจ
2. จิตพิสัย
หมายถึง การเรียนรู้ด้านทัศนคติ ค่านิยม ความซาบซึ้ง
3.
ทักษะพิสัย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับการกระทำหรือปฏิบัติงานการเรียนรู้กับการเรียนการสอนในการสอนที่ดี
ผู้สอนจำเป็นต้องนำทฤษฎีการเรียนรู้มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
จุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้
โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ
การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก
จุดประสงค์ในการเรียนรู้ ซึ่งสามารถกระทำได้หลายสถานการณ์ เช่น
1. การมีส่วนร่วมในการรับรู้
โดยให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและไตร่ตรอง
2. การทราบผลย้อนกลับ
การให้ผู้เรียนได้รับทราบผลของการทำกิจกรรมต่าง ๆ
3. การเสริมแรง ทำให้ผู้เรียนมีความภาคภูมิใจ
4. การเรียนรู้ตามระดับขั้น โดยจัดความรู้จากง่ายไปยาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น