การออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน
คือ ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ
เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ
เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ
การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System Desig) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional Design) การออกแบบและพัฒนาการสอน
(Instructional Design and Developmen) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน
คือ มาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (System Approach)
ประโยชน์ของการจัดระบบการเรียนการสอน
1. สร้างความมั่นใจให้กับทั้งผู้สอนและผู้บริหารว่าการเรียนการสอนจะดำเนินไปตามแผนการเรียนการสอน
2. การออกแบบการเรียนการสอนและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบจะช่วยประหยัดเวลาและงบประมาณ
3. การจัดการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนจะเป็นไปตามความจำเป็นและความเหมาะสมกับพื้นฐานธรรมชาติของผู้เรียน
ความเป็นมาของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน
(ID) เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system
approach) ในการฝึก
ทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่
2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่าง
บังเอิญ
แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการ มีขั้นตอน
และสามารถวัดผลจากการ
เรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
ในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์
สาขาต่าง ๆ อันได้แก่ จิตวิทยาการศึกษา การสื่อความ
หมาย
การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน
คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ และ
ในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก
ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนัก
และพยายามหลีกเลี่ยง
ปัญหาดังกล่าวคือ
1. ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
2. ปัญหาด้านการวัดผล
(Evaluation)
3.
ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
4. ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
5. ปัญหาข้อจำกัดต่าง
ๆ (Constraint)
ปัญหาด้านทิศทาง
ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ
ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร
ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน
ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่
จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี
ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไรปัญหาข้อจำจัดต่าง ๆ ต้องสนใจจุดไหน สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย
ปัญหาด้านการวัดผล
ปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดผลอาจเป็น
ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้ข้อสอบยากเกินไปข้อสอบกำกวม อื่น ๆ
ปัญหาด้านเนื้อหา
และการลำดับเนื้อหา
ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน
ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อหายากเกินไป
เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน และอื่น ๆ อีกมากมาย
ในส่วนของผู้เรียนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดี่ยวกับที่กล่าวข้างต้นอันเป็นผลมาจากครู
อาจเป็นการสอนหรือวิธีการสอนของครูทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าห้องเรียน มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนสิ่งนั้น ๆ
หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ เช่น
ตั้งเป้าหมายไว้ว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้องถ่ายวิดีโอได้อย่างชำนาญ
แต่วิธีสอนกลับบรรยายให้ฟังเฉย ๆ และผู้เรียนไม่มีสิทธิจับกล้องเลย เป็นต้น
ในการสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากรลักษณะ
คือ บุคลากรครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร
ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น พนักงานพิมพ์ ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ หรืออื่น ๆ
องค์ประกกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ
ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึง
ประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง
ๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้
และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่
กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากการประเมินผลที่เรียกว่า
การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation)
เป้าหมายหลักของการจัดระบบการเรียนการสอนมี
2 ประการคือ
1. เพื่อจัดกระบวนการเรียนการสอนให้ผู้สอนและผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กัน
โดยใช้วิธีการต่างๆ ในการเอื้ออำนวย
ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
2.
เพื่อออกแบบระบบการเรียนการสอน โดยใช้วิธีการที่เป็นระบบในการออกแบบ การวางแผน
การนำไปใช้
และการประเมินกระบวนการทั้งหมดของระบบการสอนนั้นระบบการเรียนการสอนต้องอาศัยองค์ประกอบ
หลายส่วนมาร่วมกันทำงานให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น